เมนู

คำว่า ภาวนฏฺเฐ - ในอรรถว่าเจริญ ความว่า ในสภาวะที่ควร
เจริญ 4 อย่าง มีการนำออกเป็นต้นแห่งมรรค.

60 - 63. อรรถกถาทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาญาณุทเทส


ว่าด้วย ทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ


บัดนี้ เพื่อจะแสดงสัจญาณเป็นแผนก ๆ ไปด้วยสามารถแห่ง
การพิจารณาถึงมรรคที่ได้เจริญแล้วก็ดี ด้วยอำนาจการได้ยินได้ฟังของ
ผู้ไม่ได้อบรมมรรคก็ดี พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกเอาญาณ 4
มีทุกขญาณเป็นต้นขึ้นแสดง.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ทุกฺเข - ในทุกข์ ทุ ศัพท์ ในคำนี้
ย่อมปรากฏในอรรถว่า น่าเกลียด. ชนทั้งหลายย่อมเรียกบุตรน่าเกลียด
ว่า ทุปุตตะ - บุตรชั่ว. ศัพท์นั้นย่อมปรากฏในอรรถว่าว่างเปล่า.
จริงอยู่ท่านเรียกอาการที่ว่างว่า ขํ. ก็สัจจะที่ 1 นี้ ชื่อว่า น่าเกลียด
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปัทวะเป็นอเนก, ชื่อว่า ว่างเปล่า เพราะเว้นจาก
ความยั่งยืน, ความงาม, ความสุข, และอัตตาอันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา
ของพาลชน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ทุกข์ เพราะความเป็น
ของน่าเกลียด และเพราะเป็นความว่างเปล่า.

ในคำว่า ทุกฺขสมุทเย - ในทุกขสมุทัยนี้ สํ ศัพท์นี้
แสดงถึงสังโยคะ - การประกอบพร้อมกัน ดุจในคำเป็นต้นว่า สมาค-
โม
- มาประชุมพร้อมกัน สเมตํ - มาถึงพร้อมกัน, อุ ศัพท์นี้ แสดง
ถึงการอุบัติ ดุจในคำเป็นต้นว่า อุปฺปนฺนํ - เกิดขึ้นแล้ว อุทิตํ - ตั้งขึ้น
แล้ว. อย ศัพท์ ก็ย่อมแสดงถึงการณะ - เหตุ. ก็สัจจะที่ 2 นี้ เมื่อการ
ประชุมพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือมีอยู่ก็เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะ
ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ทุกขสมุทัย เพราะเหตุที่สัจจะที่ 2 เป็นเหตุ
เกิดแห่งทุกข์ในเมื่อมีการประกอบ.
ในคำว่า ทุกฺขนิโรธ - ในความดับแห่งทุกข์นี้ นิ ศัพท์
แสดงถึง อภาวะ - ความไม่มี, และ โรธ ศัพท์ แสดงถึงการเที่ยวไป
ในวัฏสงสาร. เพราะฉะนั้น ความไม่มีแห่งการเที่ยวไปแห่งทุกข์
กล่าวคือการเที่ยวไปในสังสารทุกข์ เพราะว่างจากคติทั้งปวง, อีกอย่าง
หนึ่ง เมื่อบรรลุนิโรธนั้นแล้ว ทุกขนิโรธอันท่องเที่ยวไปในสงสาร
ย่อมไม่มี เพราะความที่ทุกขนิโรธเป็นปฏิปักษ์ต่อการท่องเที่ยวไปใน
สังสาร แม้เพราะเหตุนี้ ก็เรียกว่า ทุกขนิโรธ อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า
ทุกขนิโรธ เพราะเป็นปัจจัยแก่การดับไม่เกิดแห่งทุกข์.
ในคำว่า ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย - ในปฏิปทาเป็น
เหตุถึงซึ่งทุกขนิโรธ
นี้ มรรคมีองค์ 8 นี้ ย่อมถึงซึ่งทุกขนิโรธ
เพราะมุ่งหน้าต่อทุกขนิโรธนั้น โดยการกระทำให้เป็นอารมณ์ และ

เป็นปฏิปทาแห่งการบรรลุทุกขนิโรธ ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา.
มรรคญาณ 9 เท่านั้น ในเบื้องต้นท่านกล่าวว่า มรรคญาณ
ด้วยสามารถแห่งการแสดงอาการคือการออก, ท่านกล่าวว่า อานัน-
ตริกสมาธิญาณ
ด้วยสามารถแห่งการแสดงเหตุแห่งการให้ผลในลำดับ,
ท่านกล่าว สัจวิวัฏญาณ ด้วยอำนาจการแสดงซึ่งการหลีกออกจาก
วัฏฏะด้วยสัจจะ, ท่านกล่าว อาสวักขยญาณ เพื่อแสดงความเกิดขึ้น
แห่งอรหัตมรรคญาณตามลำดับแห่งมรรค และเพื่อแสดงความรู้ยิ่งแห่ง
ญาณนั้น, ท่านแสดงญาณ 4 เป็นต้นว่า ปัญญาในปริญเญยยธรรม
ชื่อว่าทุกขญาณ เพื่อแสดงความที่มรรคญาณทั้ง 4 เป็นญาณที่ตรัสรู้
โดยความเป็นอันเดียวกันซ้ำอีก ท่านยกญาณทั้ง 4 มีทุกขญาณเป็นต้น
ด้วยสามารถแห่งการแสดงการเกิดขึ้นแยกกันในสัจจะหนึ่ง ๆ อีก ฉะนั้น
พึงทราบความต่างกันทั้งในเบื้องต้นและเบื้องปลาย ดังแสดงมาด้วย
ประการฉะนี้แล.

65 - 67. อรรถกถาอัตถปฏิสัมภิทาธัมมปฏิสัมภิทา
นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส


ว่าด้วย ปฏิสัมภิทาญาณ4


บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ปฏิสัมภิทาญาณสำเร็จแก่พระอริยบุคคล
ทั้งปวงได้ด้วยอานุภาพแห่งอริยมรรคเท่านั้น ท่านจึงยกปฏิสัมภิทา-
ญาณ 4 มีอรรถปฏิสัมภิทาญาณ เป็นต้น ขึ้นแสดงอีก. ก็ปฏิสัมภิทา-
ญาณเหล่านี้ เป็นสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณทั่วไปแก่พระอริยบุคคลทั้งปวง
แม้ในเมื่อไม่มีการแตกฉานในปฏิสัมภิทาด้วยกัน, แต่ที่ท่านยกขึ้นแสดง
ในภายหลัง พึงทราบว่า เป็นปฏิสัมภิทาญาณอันถึงความแตกฉาน
ของผู้มีปฏิสัมภิทาแตกฉานแล้ว นี้เป็นความต่างกัน ของอรรถวจนะ
ทั้ง 2 แห่งคำเหล่านั้น. หรือญาณที่ท่านแสดงในลำดับมีทุกข์เป็นอารมณ์
และมีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา, ญาณมีสมุทัยเป็น
อารมณ์ และมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นธรรมปฏิสัมภิทา, ญาณในโวหาร
อันแสดงอรรถและธรรมนั้น เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทา, ญาณในญาณ
ทั้ง 3 เหล่านั้น เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา, เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า
ท่านยกสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพื่อจะชี้แจงความแปลกกันแห่ง
เนื้อความแม้นั้น. ก็เพราะเหตุนั้นนั่นแลท่านจึงกล่าวให้แปลกกันด้วย
นานัตตศัพท์ในภายหลัง, ในที่นี้จึงไม่กล่าวให้แปลกกันเหมือนอย่างนั้น
ดังนี้.